fbpx skip to Main Content
อาหารบำรุงสมอง

กระตุ้นการทำงานสมอง…ด้วยสองมือบริหาร และการกิน

การบริหารสมอง (brain activation)  หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ corpus callosum ซึ่งเชื่อมสมอง 2 ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง 2 ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ปัจจัยอะไรและทำอย่างไรที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ?

1. เปลี่ยนความคิดจาก แง่ลบ Negative เปลี่ยนให้เป็น แง่บวก Positive 

2. การหัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ จะทำให้คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วอาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิด Negative ได้ชั่วคราว เมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น การสวดมนต์ ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือ ออกกำลังกาย ทำให้เรารู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้างได้เป็นอย่างดี

3. สังเกตตัวเองว่าพยายามเรียนรู้พัฒนาตนจากสื่อใดได้ดี เป็นพิเศษ เช่น บางคนพบว่าตนเองเรียนรู้ได้เร็วจากการอ่าน ,การพูดคุยกับผู้อื่น, การคำนวณ,การแสดงออกทางดนตรี และศิลปะ , การเข้าใจผู้อื่น, การใช้ทักษทางภาษา, การขาย ฯลฯ เป็นต้น

4. ตั้งคำถามพยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างสมองกับข้อมูล จะช่วยให้ประสิทธิภาพสมองของเราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ควรเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะทำให้สมองมีการพัฒนาต่อเนื่อง

5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เรากระตือรือร้น สดชื่น  อารมณ์แจ่มใส  เมื่อสมองมีการตื่นตัวดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนซ้าย ส่วนขวา และสมองส่วนกลาง ของเราจากการออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 – 20 นาที ส่งผลให้ ข้อมูลในสมองทำการแลกเปลี่ยนได้ จัดเก็บลำดับข้อมูลที่สะสมในแต่ละวันอย่างสะดวก สมองเราใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. สมองในส่วนความจำ จะทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้

  • ความจำระยะสั้น >>> ช่วงเช้า
  • ความจำระยะระยะยาว >>> ช่วงบ่าย
  • จำเกี่ยวกับตัวเลข >>> ก่อนนอน
 
การบริหารสมองง่ายๆ…บริหารได้ด้วยตัวเอง 

1. การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
►ปุ่มสมอง

ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 10 วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ

ขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

►ปุ่มขมับ

1. ใช้นิ้วทั้ง 1 ข้างนวดขมับเบาๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที

2. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน

ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ

 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น

♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน

 

► ปุ่มใบหู

1. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง

2. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กัน ให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบาๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น

 ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู

♦ เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น

♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น


2. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)
ท่าที่ 1 นับ 1-10

1. ยกมือทั้ง 2 ขึ้นมา

2. มือขวา ชูนิ้วชี้ตั้งขึ้น นับ 1  มือซ้าย ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขนานกับพื้น

3. นับ 2 ให้เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายชู 2 นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลาง  ส่วนมือขวาก็ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

4. นับ 3 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา 3 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง  มือซ้ายก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

5. นับ 4 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

6. นับ 5 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา 5 นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

7. นับ 6 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

8. นับ 7 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วนาง  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

9. นับ 8 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลาง ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

10. นับ 9 ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วชี้ ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

11. นับ 10 ให้เปลี่ยนมาเป็นกำมือซ้าย ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น

ประโยชน์ของการบริหารท่านับ 1-10

♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก

♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา

♦ เพื่อกระตุ้นความจำ

 

ท่าที่ 2 จีบ L

1. ยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆ ให้เหยียดออกไป

2. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้

3. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้าง ทำเช่นเดียวกับข้อ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกับข้อ ๒

4. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง                 

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา

♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก

♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว

♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

 

ท่าที่ 3 โป้ง-ก้อย

1. ยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าโป้ง โดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา

2. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา

3. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบโป้ง-ก้อย
♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด                  

 

 ท่าที่ 4 แตะจมูก-แตะหู
1. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)

2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)

ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู

♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น

 

ท่าที่ 5 แตะหู
1. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา

2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย

ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู 

♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ

♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด

 

3. การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 1-10 นาที

ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย

♦ ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ

อาหารบำรุงสมอง

ยอดอาหารที่ว่ากันว่าเมื่อทานเข้าไปแล้วจะช่วยบำรุงสมอง ให้มีความจำดี เพราะสมองเป็นอวัยวะอีกชิ้นที่ทำงานหนักไม่แพ้กันเลย จะมีอะไรบ้างนั้นลองมาดูกัน

1. ปลา จริงอย่างที่เขาว่ากันว่ากินปลาแล้วจะฉลาด โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแฮริ่ง เป็นต้น ปลาพวกนี้เป็นอาหารที่ประโยชน์สูงสุดต่อสมองมาก แต่ถ้าหาปลาทะเลมารับประทานลำบาก หรือไม่มีเวลาเตรียมอาหารก็สามารถกินอาหารเสริมประเภทน้ำมันปลาแทนก็ได้ค่ะ

รับประทานปลาช่วยบำรุงสอมง

รับประทานปลาช่วยบำรุงสอมง

2. ผลไม้รสเปรี้ยวตระกูลเบอร์รี ได้แก่ บลูเบอรี่ สตรอว์เบอรี เชอรี จะช่วยเสริมสุขภาพสมอง ระบบหมุนเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ช่วยลดความดันโลหิตที่สูงให้สมดุล มีวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเพิ่มความสามารถในการคิดและระดับไอคิวได้อีด้วย ทั้งยังป้องกันการสูญเสียความจำระยะสั้น ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัสที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อความ ทรงจำ โดยเฉพาะบลูเบอร์รีสดดีต่อความจำระยะยาวมากที่สุด เหมาะแก่การรับประทานเป็นอาหารว่าง เพราะไม่ทำให้อ้วน และยังได้วิตามินซีเพิ่มอีกด้วย

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ช่วยบำรุงสมอง

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ช่วยบำรุงสมอง

3. ผักโขม ช่วยลดอาการความจำเสื่อมโดยเฉพาะในผู้หญิง มีการวิจัยพบว่าหญิงวัยกลางคนที่รับประทานผักโขมร่วมกับผักใบเขียวชนิดอื่นๆ เป็นประจำ ช่วยลดอาการความจำเสื่อมไปได้ถึง 2 ปี ผักโขมมีเอนไซม์ที่ดีต่อความแข็งแกร่งของปลายเซลล์ประสาท และเสริมความแข็งแรงตัวรับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท ทั้งยังมีกรดโฟลิกสูงที่ดีต่อการจำ ช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย นักประสาทวิทยาแนะนำให้กินผักโขมอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะผักโขมที่ปลูกแบบออร์แกนิก ไร้สารพิษตกค้าง

4. ไข่ เป็นที่รู้จักกันดีว่าช่วยพัฒนาระบบการทำงานของสมอง โดยล่าสุดนี้พบว่าสาร “โคลิน ” ในไข่ไก่จะทำหน้าที่สำคัญต่อการพัฒนาการทำงานของสมอง และความจำ โดยมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ในสหรัฐอเมริกา ค้นพบว่าสมองของทารกที่มารดารับอาหารที่มีโคลินนั้นจะมีพื้นที่การจดจำและควาสามารถในการจำมากกว่า… ไข่ไก่สามารถให้พลังงานนานนับหลายชั่วโมง ไม่ทำให้หิวบ่อยๆ และไม่ต้องกลัวโคเลสเตอรอลสูงอีกด้วย

ทานไข่ช่วยบำรุงสมอง

ทานไข่ช่วยบำรุงสมอง

5. อาหารแบบเมดิเตอร์ริเนียน ที่เน้นน้ำมันมะกอก สุดยอดน้ำมันที่สกัดจากพืชโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสมองในปริมาณสูง เป็นส่วนประกอบสำคัญ ส่วนผสมอื่นๆ ของอาหารปะเภทนี้จะเน้นผักและผลไม้ โดยเฉาะมะเขือเทศ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสมองและลดอาการสมองเสื่อมได้ คนที่บริโภคแบบเมดิเตอร์ริเนียนนี้เป็นประจำจะช่วยลดอัตราการเป็นโรคความจำ เสื่อมหรือหลงลืมได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

ผักบำรุงสมอง

ผักบำรุงสมอง

6. แครอท หากต้องการกระตุ้นให้สมองทำงานอย่างสดชื่นแบบเร่งด่วน ควรรับประทานผลไม้สด โดยเฉพาะแครอทสด โดยรับประทานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะช่วยกระตุ้นให้มีความจำที่ดีได้

7.  พืชตะรกูลถั่ว อาทิ  ฮาเซลนัท อัลมอนด์ ถั่วลิสง แมคคาเมีย และวอลนัท ที่ถือได้ว่าเป็นราชาแห่งถั่ว ล้วนเป็นแหล่งรวมโปรตีน มีไฟเบอร์สูง และมีไขมันดีมาก เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ช่วยทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉงขณะที่โปรตีนและไขมันช่วยให้ร่างกายสมดุล สงบ ผ่อนคลาย อีกทั้งยังมีวิตามินอีที่สำคัญต่อกระบวนการคิดและจำ

อาหารช่วยบำรุงสมอง

อาหารช่วยบำรุงสมอง

8. อาหารประเภทธัญพืช เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดงา มีโปรตีนสูง มีไขมันดี และวิตามินเอสูง ขณะเดียวกันก็มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มสารอาหารกระตุ้นสมองอย่าง แมกนีเซียม ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองได้ดี เต็มไปด้วยเส้นใยอาหาร มีปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม รวมทั้งยังมีโอเมก้าสูง และจะดีมากหากรับประทานเป็นอาหารเช้า เพื่อเพิ่มพลังในวันใหม่

9. แอปเปิ้ล การทานแอปเปิลวันละ 2-3 ลูก หรือการดื่มน้ำแอปเปิลวันละประมาณ 2 แก้ว มีส่วนช่วยเพิ่มการสร้างสื่อประสาทใบสมองที่มีชื่อว่า “ อะเซทิลโคลีน ”  ซึ่งเป็นตัวกำหนดความสามารถเรียนรู้ในการจำ และการเรียนรู้ และยังเพิ่มประสิทธิภาพความจำของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส จึงช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมได้

10. ช็อกโกแลต รู้หรือไม่คะว่าช็อกโกแลตมีส่วนช่วยกระตุ้นสมอง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยระบบหมุนเวียนเลือด และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ ที่สำคัญช่วยพัฒนาความจำได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังที่ผลิตสารเอ็นดอร์ฟิน และเซโทโรนิน ที่เป็นสารแห่งความสุขในสมอง ทำให้อารมณ์ดี โดยพกแท่งเล็กๆไว้ในกระเป๋าไว้กินเวลาว่างเมื่อต้องการความสดชื่นจะช่วยผ่อน คลายสมอง

11. แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า อาการหลงๆลืมๆจึงนิยมแนะนำให้ใช้เพื่อปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิตในสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการกระทำงานและประสิทธิภาพของสมอง และยังมีการสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  เพื่อบำรุงสมองอีกด้วย

ถั่วบำรุงสมอง

ถั่วบำรุงสมอง

ข้อมูลจาก : www.doctor.or.thwww.tpa.or.thwww.bangkokpattayahospital.com

Back To Top