คุณประโยชน์หลากหลาย ผัก ผลไม้ 5 สี
จากการศึกษาวิจัยมากมายพบว่าในผักผลไม้แต่ละสี จะมีปริมาณและชนิดของไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีประโยชน์ต่างกันไป ดังนั้นการที่จะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและหลากหลาย จะแนะนำให้ทานผักและผลไม้หลากสีให้ได้ในปริมาณ 400-500 กรัมต่อวัน ซึ่งจาการสำรวจเชิงสถิติในประเทศไทย คนไทยร้อยละ 80 ทานผักและผลไม้เพียง 276 กรัมต่อคนต่อวันเท่านั้น และด้วยสภาพอากาศ และการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้ปริมาณสารอาหารในผักและผลไม้สูญเสียไปมากว่า 20% จึงเป็นเหตุผลนึงที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น
อย่างที่เรารู้ ๆ กันว่าประโยชน์ของ ผักผลไม้ นั้นมีมากมายมหาศาล ทั้งวิตามิน แร่ธาตุหลากชนิดที่เป็นประโยชน์กับกลไกต่าง ๆ ในร่างกาย และคุณสมบัติของการเป็นแหล่งใยอาหาร เป็นสารอาหารที่ช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรรอลและไขมัน ช่วยให้ระบบย่อย ระบบการขับถ่ายทำงานปกติ
นอกจากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ใน ผักผลไม้ ยังมีสารพิเศษ เป็นสารอาหารที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้ ต้องได้รับจากพืชเท่านั้น โดยเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อม กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และช่วยป้องกันการติดเชื้อและการเกิดโรคต่างๆได้มากมาย ซึ่งทำหน้าที่คล้ายยาช่วยป้องกันโรคบางชนิด เช่นมะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น
ผักผลไม้ นั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามสีของและชนิด ซึ่งแต่ละสีก็มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่โดดเด่นต่างกันไป รวมไปถึงสารอาหารต่างๆในผักแต่ละสีด้วยเช่นกัน มาดูว่าแต่ละสีมีคุณประโยชน์อย่างไรกันบ้างค่ะ
สีเขียว
สีเขียวเป็นสีแรกที่ทุกคนจะนึกถึงเมื่อพูดถึงผัก สีเขียวในผักและผลไม้มาจากเม็ดสีของสารที่มีชื่อว่า คลอโรฟิลด์ (Chlorophyll) ซึ่งในผักสีเขียวที่มี คลอโรฟิลด์ (Chlorophyll) นี้ เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็ง ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ช่วยยับยั้งการเกิดริ้วรอย นอกจากนี้การทานผักใบเขียวเป็นประจำจะช่วยให้การขับถ่ายดี ลดอากาท้องผูก เนื่องจากผักเหล่านี้มีกากใยสูงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากให้พลังงานต่ำ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติส่งเสริมสุขภาพ เช่น ลูทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา กินผักเขียวๆทำให้ดวงตาเราแข็งแรง
ผักผลไม้ สีเขียว : ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น บล็อกโคลี คะน้า ผักโขม กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ชะอม ตำลึง ใบยอ บวบ ใบชะพลู ใบบัวบก ผักบุ้ง ผักกาดหอม แตงกวา ถั่วลันเตา อะโวกาโด กีวี แตงกวาทั้งเปลือก ซูกินีทั้งเปลือก ถั่วแขก โหระพา ใบกะเพรา สะระแหน่ ฝรั่ง ชมพู่เขียว แอปเปิ้ลเขียว องุ่นเขียว
สีขาว
ผักและผลไม้ที่มีสารอาหารที่เรียกว่า แซนโทน (Xanthone) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆที่ประกอบด้วย กรดไซแนปติก (Synaptic acid) และ อัลลิซิน (Allicin) โดยสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดไขมันในเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตในร่างกายดี ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ผักผลไม้สีขาวนี้จะให้กากใยสูง เพิ่มปริมาณวิตามินอี ในร่างกายโดยเฉพาะกลุ่มธัญพืชให้วิตามินและโปรตีนสูง
ผักผลไม้ สีขาว : แอปเปิ้ล ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ แห้ว งา ลูกเดือย ข่า ขิง กระเทียม หอมหัวใหญ่ เห็ด หัวไชเท้า สาลี่ กล้วย ลางสาด
สีแดง
สีแดงสารตัวเลื่องชื่อในกลุ่มนี้ก็คือไลโคปีน (Cycopene) และ เบตาไซซีน (Betacycin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย แต่จะเด่นที่สุดคือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก เพราะมีการค้นพบว่าช่วยลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากของคุณผู้ชายได้ รองลงมาคือมะเร็งปอด และมะเร็งที่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้อาหารสีแดงยังช่วยดูแลสุขภาพหัวใจ หลอดเลือดและระบบทางเดินปัสสาวะ และลดปริมาณไขมันแอลดีแอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายทำไห้ภาวะผิดปกติของเซลล์ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์เรื่องผิวพรรณ ลดการเกิดสิวและทำให้รอยแผลเป็นจางลงได้อีกด้วย
ผักผลไม้ สีแดง : แตงโม มะเขือเทศ สตรอว์เบอรี่ เชอร์รี่ ชมพู่แดง ดอกกระเจี๊ยบ เชอรี่ แตงโม
สีม่วง สีม่วงปนน้ำเงิน
สีม่วงแดงใน ผักผลไม้ กลุ่มสีนี้มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยปกป้อง ผักผลไม้ จากการทำลายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต เลยทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ช่วยชะลอการเกิดการอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ และมีคุณสมบัติช่วยทำลายสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ ชะลอความเสื่อมถอย เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงเส้นผมให้เงางามอีกด้วย
ผักผลไม้ สีม่วงแดง : กะหล่ำปลีม่วง มะเขือม่วง หอมแดง ถั่วดำ/แดง ข้าวเหนียวดำ ข้าวแดง มันสีม่วง เผือก ดอกอัญชัน ลูก พรุน ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น องุ่นแดง บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ เป็นต้น
สีเหลือง สีส้ม
ผักและผลไม้ที่สีเขียวอ่อนและสีเหลืองจะมีสารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) อยู่มาก ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงกับดวงตา ช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาในผู้ใหญ่ และมีส่วนช่วยในการพัฒนา การมองเห็นในเด็กเล็กได้อีกด้วย ช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยให้ภาพคมชัดในการมองเห็นเวลากลางคืน
สำหรับผักและผลไม้ที่มีสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีน (Betacarotene) ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล,ไขมันในเส้นเลือด ช่วยให้ผิวพรรณสดใส รักษาความชุ่มชื่นให้ผิว มีศักยภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระอันเป็นตัวก่อมะเร็งสูง ลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
ผักผลไม้ สีเหลือง ส้ม : ฟักทอง ขนุน ข้าวโพด แครอท แคนตาลูป มะม่วง มะละกอสุก สับปะรด ส้ม
ในหนึ่งวันควรได้รับสารอาหารที่หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ และในแต่ละเมนูควรมีผักเป็นองค์ประกอบ ใน 1 วันควรรับประทานผลไม้อย่างน้อย 2 ชนิด มาดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานผักผลไม้กันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.health.mthai.com , www.lovefitt.com , www.thairats.com