ปวดคอ
อาการปวดต้นคอเป็นอาการที่พบบ่อย ปวดต้นคออาจะมีสาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบเนื่องจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือออาจจะมีสาเหตุจากกระดูกคอเสื่อม
คอเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด ยิ่งการทำงานในยุคปัจจุบัน คนต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ต้องก้มหน้าเงยหน้าอยู่ตลอด ประกอบงานปัจจุบันต้องใช้สมองมาก ทำให้เกิดความเครียดจึงเกิดอาการปวดคอ และปวดศีรษะ นอกจากนั้นคอเป็นอวัยวะที่บอบบางเมื่อเทียบกับขนาดสมอง และลำตัว ให้เกิดความชอกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย นอกจากนั้นคอก็ยังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่รับคำสั่งจากสมอง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย อาการเจ็บคอพบได้ไม่บ่อยเท่าอาการปวดหลัง อาการเจ็บคอที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อคอหดเกร็งทำให้เอี้ยวคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือที่เรียกว่าตกหมอน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายเองได้
มารู้จักคอของคนเรา
คอเป็นอวัยวะที่สำคัญช่วยเชิดหน้าชูตาให้กับเรา คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอทั้งหมด 7 ชิ้นเราเรียก cervical spine 1 หรือ C1-7 โดยชิ้นที่1จะอยู่ติดกับกระโหลก ชิ้นที่7จะติดกับกระดูกหน้าอก ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีหมอนกระดูกขั้นกลาง เมือ่เราคลำส่วนหลังของคอ จะคลำได้เป็นตุ่มๆซึ่งเป็นกระดูกยื่นมาจากส่วนหลังของกระดูกต้นคอ ตรงกลางของกระดูกจะมีรู้เรียก spinal canal ซึ่งเป็นรูที่ให้ประสาทไขสันหลัง spinal cord ลอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกต้นคอ จะมีช่องให้เส้นประสาทลอดออกไปซึ่งจะนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆไปยังสมอง หากรูนี้เล็กลง หรือมีกระดูกงอกไปกดก็จะทำให้มีอาการปวดต้นคอ และปวดแขน
การทำงานของคอ
การเคลื่อนไหวของข้อต่อต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้ส่วนประกอบของข้อเคลื่อนตามดังนี้
- หากท่านก้มศีรษะหรือเงยหน้า หมอนกระดูกของคอจะถูกกดไปข้างหน้า และข้างหลัง
- หากท่านหมุนคอไปทางซ้ายหรือขวา กระดูกคอแต่ละชิ้นจะหมุนตัวมันเองตามทิศทางที่ต้องการ
- เมื่อตะแคงศีรษะไปทางข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกข้างนั้นจะบีบตัวเข้ามาทำให้ช่องที่เป็นทางออกของเส้นประสาทแคบลง
สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย
- อิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยร้าเกินไป เช่นบางคนชอบนั่งก้มหน้า หรือ หรือช่างที่ต้องเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา ใช้หมอนสูงเกินไปวิธีแก้ต้องใช้หมอนหนุุต้นคอหรือบริเวณท้ายทอย
- ความเครียดทางจิตใจซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นการงาน ครอบครัว การพักผ่อนที่ไม่พอเพียง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
- คอเคร็ดหรือยอก เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากเกินไป เนื่องจากคอต้องเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไปทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วนจนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ดเช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม
- ภาวะข้อเสื่อม เนื่องจากกระดูกคอต้องแบกน้ำหนักอยู้ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนแก่ ทำให้ข้อเสื่อมตามอายุมีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบของข้อต่อ ซึ่งอาจจะไปกดทับถูกปลายประสาทที่โผล่ออกมา ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
- อาการบาดเจ็บของกระดูกคอซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆเช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
- ข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้กระดูกต้นคออักเสบด้วย เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ
โรคหมอนรองกระดูก Cervical Disc Disease
หากเราเกิดอุบัติเหตุเช่น รถชนกันทำให้ศีรษะหงายหลัง หรือเกิดจากข้ออักเสบทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมและมีการเลื่อนของหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเหมือนไฟช็อกจากต้นแขนไปปลายแขนร่วมกับอาการชา หากไม่รักษาอาจจะทำให้แขนอ่อนแรงถึงกับเป็นอัมพาต หมอนกระดูกทับเส้นประสาท
ท่อไขสันหลังตีบ Cervial stenosis
เนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกทำให้รูในท่อไขสันหลังแคบจึงมีการกดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ชามือ เดินเร็วจะปวดขา ทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้
กระดูกต้นคอเสื่อม Osteoartgritis
กระดูกต้นคอก็เหมือนกับกระดูกที่อื่นๆ เมื่อใช้งานมานานก็เกิดการเสื่อมของกระดูก หมอนกระดูกจะบางลง และมีกระดูกงอกเงยออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ มักจะเป็นมากในตอนเช้า ปวดต้นคอร้าวไปบริเวณไหล่หรือสะบัก ตอนสายๆอาการจะดีขึ้น
การได้รับอุบัติเหตุ
ส่วนให้เกิดจากอุบัติเหตุรถหรือมอเตอร์ไซด์ มีการหงายหน้าอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีการช้ำของกล้ามเนื้อ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีหมอนกระดูกทับเส้นประสาท
การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บคอ
- ผู้ที่มีอาการปวดต้นคอหรือที่เรียกว่าตกหมอนส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบคอ คอจะแข็งอย่างเฉียบพลันหลังจากการเอี้ยว บิด ผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน การรักษาสามารถทำได้โดย
- พยายามพัก อย่าเคลื่อนไหวคอ ทางที่ดดีควรจะนอนพัก
- รับประทานยาแก้ปวด หากไม่มากใช้ยา paracetamol 500 mg. หากปวดมากก็ให้รับประทานยากลุ่ม NSAID
- ในระยะแรกอาจจะประคบด้วยน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าขนหนูวางบริเวณที่ปวด หรือจะใช้น้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาที
- การใส่ปลอกคอ มักจะไม่มีความจำเป็น นอกจากจะปวดมากๆ ไม่แนะนำให้มีการจับเส้นในระยะเฉียบพลันเพราะอาจจะเกิดผลเสีย
- สำหรับผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักจะไม่รุนแรง เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยวคอจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น การดูแลเบื้องต้ได้แก่
- กินยาแก้ปวด
- ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่นไว้แล้ว
- การนวดหรือกดจุด โดยถูกหลักวิชาอาจจะช่วยระงับอาการปวดได้ การนวดง่ายๆอาจทำภายหลังจากการอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว 10-15 นาที
- เริ่มการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
อาการเจ็บคอที่ต้องรีบพบแพทย์
อาการเจ็บคอโดยส่วนใหญ่ไม่อันตรายหายเองได้ แต่ก็มีบางภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องรู้และรีบปรึกาาแพทย์
- อาการปวดต้นคอร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา และอาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
- อาการปวดข้อร่วมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีอาการปวดคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง ก้มหน้าเอาคางจรดอกไม่ได้ซึ่งอาจจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- อาการปวดต้นคอเป็นตลอดอย่างต่อเนื่อง
- มีอาการปวดต้นคออย่างมาก
- อาการเจ็บคอหลังจากได้รับอุบัติเหตุ
การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
กล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันและการรักษาการปวดคอเรื้อรังหรือเป็นๆหายหายๆ การบริหารกล้ามเนื้อคอจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่
- ในระยะแรกจะบริหารเพื่อเพิ่มความยืดยุนของเอ็นและกล้ามเนื้อรอบคอ โดยการเอียงคอไปทางซ้าย ขวา ก้มหน้า เงยหน้า
- ในระยะต่อมาจึงจะสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการ ใช้แรงต้านจากมือ
- การออกกำลังกายโดยทั่วไป นับเป็นส่วนสำคัญข้อหนึ่ง เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจแข็งแรง มีการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อของร่างกายหลายๆส่วน เช่นกล้ามเนื้อขา หลังจะแข็งแรง กระดูกจะเสื่อมน้อย
การรักษาโดยแพทย์
ความสำคัญของการรักษาแพทย์จะตรวจว่าหมอนกระดูกได้มีการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ หากมีการกดทับมาก ผู้ป่วยเกิดอาการช้า หรืออ่อนแรงแขนหรือขา การรักษาจะต้องทำการผ่าตัดในการวินิจฉัยแพทย์จะถามประวัติเพิ่มเติม และมีการตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการวินิจฉัย และหาตำแหน่งของโรค
การรักษาโดยกายภาพ
การทำกายภาพจะช่วยผ่อนคลายอาการปวดคอให้ท่านได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
- การประคบร้อน
- การใช้เคื่อง ultrasound
- การอบร้อน Diathermy
- การใช้ Laser
- การดึงคอ
- การนวด
- การใส่ปลอกคอ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ
- ระวังอริยาบท ทั้งการยืน การนั่ง การนอน การทำงาน
- อย่าอยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ
- สำหรับผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ท่านต้องจัดที่นั่ง หน้าจอให้เหมาะสม
- การทำงานควรหาเวลาหยุดพักเพื่อออกำลังกล้ามเนื้อคอ เคลื่อนไหวคอ หรือเปลี่ยนอิริยบทสัก 2-3 นาทีทุกชั่วโมง
- การเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม
- สำหรับผู้สาวมแว่นตา ควรจะวัดสายตาเพื่อตัดแว่นใหม่ให้เหมาะสมกับสายตา
- การพักผ่อนที่เพียงพอ อย่าหนุนหมอนหลายใบ การเลือกหมอน ที่นอน
- ประเมินข้อจำกัดของตัวเองในการเคลื่อนย้ายของที่หนัก
- การใช้ยา
- การบริหารคอ
ขอขอบคุณบทความจาก: www.siamhealth.net