fbpx skip to Main Content
ห้ามเลือด

วิธีห้ามเลือดที่ถูกต้อง…เมื่อมีบาดแผล

การบาดเจ็บใดๆ ที่แม้จะเห็นเพียงบาดแผลภายนอกเล็กน้อย แต่อาจเป็นสาเหตุให้อวัยวะภายในบาดเจ็บรุนแรงได้ และทําให้เลือดออกมากจนช็อก หรือเลวร้ายกว่านั้น หากปล่อยให้ผู้ป่วยเลือดไหลไม่หยุด การช่วยเหลือต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของตัวเองและป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงมือยางหรือหาวัสดุใกล้ตัว เช่น ถุงพลาสติกมาหุ้มมือ เป็นต้น แต่ถ้าเลือดออกมาก อย่าเสียเวลาทําแผลให้ใช้มือกดบาดแผล พร้อมยกส่วนนั้นให้สูงขึ้นเหนือระดับหัวใจ ทางที่ดีเมื่อทำการปฐมพยาบาลแล้ว ให้รีบส่งตัวเข้าโรงพยาบาลทันที

การปฐมพยาบาลผู้มีบาดแผล

การห้ามเลือดโดยทั่วไป จะใช้วิธีการอยู่ 2 วิธีคือ การใช้มือกด และการใช้ผ้ากดเพื่อพันแผล ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันอยู่ เพียงแต่จะมีเทคนิควิธีการที่ค่อนข้างเฉพาะจุด ซึ่งต้องทำความเข้าใจโดยวิธีการลงมือปฏิบัติ

1) การใช้มือกด สามารถห้ามเลือดได้โดยการใช้มือกด หรือใช้นิ้วกดบาดแผลโดยตรง  แต่วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ผ้าสะอาดพับหนาๆ กดลงบนบาดแผล หากเป็นกรณีฉุกเฉินให้ใช้เสื้อหรือผ้าเช็ดหน้า ถ้าไม่มีจริงๆ ให้ใช้ฝ่ามือกดลงไปตรงๆ นานประมาณ 10 นาที นอกจากนี้ยังใช้มือหรือนิ้วบีบปากแผลเข้าหากัน ใช้สำหรับกรณีที่บาดแผลมีขนาดใหญ่ส่วนวิธีการใช้นิ้วกดเส้นเลือดแดงใหญ่เหนือบาดแผล ใช้ในบาดแผลบริเวณแขนขาที่เลือดออกมาก โดยส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดแดง และห้ามกดติดต่อกันนานเกิน 15 นาที เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อส่วนปลายขาดเลือดได้

2) การใช้ผ้ากดและการใช้ผ้าพันแผล มีด้วยกัน 3 วิธีคือขยุ้มผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผลโดยตรงขยุ้มผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผลแล้วใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันขยุ้มผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผลแล้วใช้ผ้ายืดพัน

หากไม่มีกระดูกหัก ควรยกบริเวณที่มีเลือดออกให้สูงกว่าระดับหัวใจ และไม่ควรกดหรือพันแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้อวัยวะส่วยปลายที่กดหรือพันขาดเลือดได้ (ยกเว้นกรณีที่ห้ามเลือดโดยวิธีกดเส้นเลือดแดงใหญ่) หากนำผ้าปิดแผลชุ่มเลือดแล้วไม่ควรเอาออกและควรนำผ้าอีกชิ้นมาปิดทับบนผ้าชิ้นแรก

 

พันแผล

ชนิดของบาดแผล

ชนิดของบาดแผลที่พบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิด ดังต่อไปนี้

1) บาดแผลฟกช้ำ ห้อเลือด

วิธีการปฐมพยาบาล ให้ประคบด้วยความเย็นทันทีภายใน 24 ชั่วโมงแรกและให้ประคบด้วยความร้อนภายใน 24 ชั่วโมงหลัง

2) บาดแผลถลอก

วิธีการปฐมพยาบาล เมื่อเกิดบาดแผลถลอกสิ่งที่จะตามมาก็คือ มีเลือดออกซิบๆ ดังนั้นให้รีบทำการล้างแผลทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบของแผล

3) บาดแผลฉีกขาด

วิธีการปฐมพยาบาล ล้างบาดแผลและรอบบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในบาดแผลออกกดบาดแผล ห้ามเลือดด้วยผ้าสะอาด ประมาณ 3-5 นาที ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าปิดแผลส่วนการดูแลแผลถลอก และ บาดแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ควรรีบทำการห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาล

4) บาดแผลถูกแทง

วิธีการปฐมพยาบาล ให้ทำการห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาลถ้ามีวัตถุปักคาอยู่ห้ามดึงออก ให้ใช้ผ้าสะอาด กดรอบแผลและใช้ผ้าพันไว้ ก่อนรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

5) บาดแผลอวัยวะถูกตัดขาด

วิธีการปฐมพยาบาล ให้ทำการห้ามเลือดที่บาดแผลและรีบนำส่งโรงพยาบาล ส่วนอวัยวะที่ถูกตัดขาดให้ใส่ถุงพลาสติกที่สะอาด ปิดปากถุงให้แน่นไม่ให้น้ำเข้าแล้วแช่ในถังน้ำแข็ง แล้วนำส่งโรงพยาบาลพร้อมผู้ป่วย

6) บาดแผลถูกยิง

วิธีการปฐมพยาบาล ให้ทำการห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที เนื่องจากมีการเสียเลือดค่อนข้างมาก

7) บาดแผลถูกความร้อน

วิธีการปฐมพยาบาล ให้รีบถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกความร้อนออก และรีบถอดเครื่องประดับ เปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านบริเวณบาดแผล ให้ทายาสำหรับแผลไฟไหม้ แล้วปิดด้วยผ้าปิดแผลสะอาด ถ้าแผลกว้างและลึก หรือถูกอวัยวะสำคัญ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

 

ขอขอบคุณบทความจาก : www.thaihealth.or.th

Back To Top