อาการสมองล้า
สาเหตุอาการสมองล้า ไม่ได้เกิดจากการทำงานหนักหรือเรียนหนักเพียงอย่างเดียว การดำเนินชีวิตประจำวันในทุกๆวัน กิจกรรมที่ทำตลอดวันก็มีส่วนที่ทำให้สมองอ่อนล้าได้เช่นกัน
สาเหตุอาการสมองล้า??
ความเครียด
ความเครียดเวลาที่ต้องฝืนทำในสิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุด เมื่อได้รับความเครียด ศูนย์กลางอารมณ์ตามสัญชาตญาณ โดยเฉพาะส่วนอะมิกดาลาจะเสียหายอย่างมาก ซึ่งความเครียดแบบที่ทำให้สมองเหนื่อยล้ามากที่สุด ก็คือความเครียดที่มาจากภายนอกแล้วส่งผลกระทบต่อประสาทสัมผัสทั้งหมดของร่างกาย
ความเครียดทุกอย่างที่มาจากภายนอก ล้วนส่งผ่านประสาทสัมผัสของร่างกายแล้วมากระตุ้นยังสมอง ยิ่งสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเร่งรีบ มลพิษ เสียงดัง ยิ่งส่งผลกระทบต่อประสาทการได้ยิน การมองเห็น การดมกลิ่น ซึ่งเป็นตัวการเร่งสมองให้อ่อนล้า และที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ ความเครียดจากความสัมพันธ์ระหว่างคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ครอบครัว รวมถึงคนที่เราไม่รู้จักแต่ต้องข้องเกี่ยวด้วย ยิ่งเพิ่มความเครียดให้แก่ร่างกายและจิตใจ รวมถึงสมองด้วย
กิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าจะเรียนหนังสือ ทำงาน วางแผน งานออกแบบ งานศิลปะ งานใช้สมองต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้ต้องใช้สมองมากและเป็นงานที่มองเห็นด้วยตา ดังันั้น เราจึงต้องใช้หัวคิดมากๆ ใช้สมองมากกว่างานที่ใช้ความเคยชินในการลงมือทำ
แม้งานสนุกแค่ไหน แต่เมื่อทำไปนานๆ สมองย่อมมีความอ่อนล้า เบลอ คิดอะไรไม่ออก อาจจะเกิดอาการปวดหัว เวียนหัว เบอลๆ ตาลาย นี่แหละหลักฐานของสมองล้าที่เกิดจากการทำงานที่ใช้หัวคิดอย่างหนัก
ตอนงานไปได้ดี ฮอร์โมนตื่นเต้นอย่างโดพามีกับเซโรโทนินหลั่งออกมาก็จริง แต่หากหลั่งต่อเนื่องนานเกินไป สมองก็จะเหนื่อย และฮอร์โมนแห่งความหงุดหงิดจะหลั่งออกมา คนทำงานใช้สมองส่วนใหญ่เลยชอบดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่เพื่อผ่อนคลายให้รู้สึกสดชื่นชั่วคราว ก่อนจะกลับไปทำงานที๋โต๊ะอีกรอบ กลายเป็นเพียงแค่รักษาอาการสมองล้าได้ชั่วคราว แต่ที่จริงแล้ว หากไม่หาวิธีที่ได้ผลอย่างถาวร อาการสมองล้านั้นจะยิ่งค่อยๆ พอกพูนไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ดีต่อสุขภายกายและใจอย่างยิ่ง
ความคิด
สมองทำงานยุ่งตลอดแม้แต่ตอนที่เรานั่งเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร แม้เราจะมองไม่เห็น แต่ในสมองมีความคิดมากมายที่เกิดขึ้นเสมอ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่สร้างความอ่อนล้าแก้สมอง กระบวนการที่เกิดในสมองเราเช่นนี้มองไม่เห็นด้วยสายตาก็จริง เราแทบไม่รู้สึก็จริง แต่เราต้องใช้พลังงานมากอยู่ดี จึงทำให้สมองล้าได้
สิ่งที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว
หลายคนคิดว่าเวลาออกกำลังกายเราใช้แค่ร่างกาย แต่ความจริงแล้วแค่จะขยับนิ้วเพียงนิ้วเดียว หรือกการเดินเรื่อยเปื่อยที่ขาขยับไปเอง การหลบหลีก ใช้มือปกป้องอันตรายที่ไม่รู้ตัว เป็นการทำงาของประสาทอัตโนมัติ ซึ่งจำเป็นต้องรับคำสั่งจากสมองไม่ต่างกัน ซึ่งเกิดจากชุดคำสั่งแสนซับซ้อนที่สมองสั่งงานลงมา ดังนั้น การเคลื่อนไหวของประสาทสัมผัสของร่างกายนั้น จึงเรียกได้ว่า เกิดจากการทำงานของสมองทั้งก้อนเลยทีเดียว ไม่เพียงแต่การเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายทุกอย่างมากจากการทำงานของสมองทั้งสิ้น หลังการออกกำลังกายหนักๆ ร่างกายเหนื่อยแค่ไหน สมองก็เหนื่อยเหมือนกันเท่ากับร่างกาย โดยการทำงานของประสาทอัตโนมัติของร่างกายอยู่นอกอำนาจจิตใจ เราจะทำไปด้วยความเคยชิน และไม่รู้สึกถึงมันเท่าไร แต่จริงๆ แล้วมันเกี่ยวโยงกับอวัยวะภายในสำคัญๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อชีวิต เพราะเป็นส่วนที่ดูแลและปรับการทำงานของร่างกายให้เหมาะสมอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง หากผิดปกติไปจึงหมายถึงชีวิตที่อันตราย ดังนั้น เมื่อสมองล้า มันอาจสร้างความบกพร่องต่อระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกายได้ ทำให้ความสมดุลของทั้งร่างกายเราถูกทำลาย นำมาซึ่งอันตรายถึงชีวิตนั่นเอง
เวลานอนหลับ
กลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ทุกอวัยวะในร่างกายจะได้พักผ่อน บ้างชะลอการทำงานลง บ้างหยุดทำงานไปเลย แต่สมองคือข้อยกเว้น กระทั่งตอนนอนสมองก็ยังคงทำงาน คอยสั่งให้เราดึงผ้าห่มเมื่อเราหนาว คอยสั่งให้ลุกไปห้องน้ำ ต้องตื่นตัวคอยสังเกตว่ามีเสียงอะไรแปลกๆ ไหม ต้องฝันอีก ต้องสรุปความทรงจำเมื่อกลางวัน ต้องคิดแผนการจัดการทำงานงานในวันรุ่งขึ้น อาจบอกได้ว่า สมองไม่มีกลางวันกลางคืน สมองต้องใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานชั่วโมงละ 5 กรัม แค่นั่งเหม่อ ไม่คิดอะไร สมองก็ยังทำงานเลย
กิจกรรมคลายเครียด
ความเครียดคือตัวการร้ายของสมองล้า แต่กิจกรรมคลายเครียดบางครั้งก็ทำร้ายสมองเช่นกัน เพราะไม่ว่ากิจกรรมอะไรก็ต้องใช้สมอง ไม่ว่าจะเป็นการกิน การดูหนัง เต้นรำ ช็อปปิ้ง เราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่คลายเครียด แต่จริงๆ ก็เสี่ยงที่จะทำให้สมองล้าจาก เสียงดัง ฝุ่นผง ควันพิษ ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้าจากร่างกาย ที่ทำให้สมองต้องทำงานหนักทีเดียว
หากอยากคลายเครียด ไม่มีอะไรบรรเทาอาการสมองล้าได้ดีเท่าความเหนื่อยจากการออกกำลังกายอีกแล้ว แต่ต้องทำอย่างพอเหมาะ จะออกกำลังกายหนัก จะเดินออกกำลังกายสัก 30 นาทีก็ได้ ไม่ใช่ออกกำลังกายหรือเดินเป็นหลายชั่วโมง แบบนี้ก็จะยิ่งทำให้สมองเครียด เหนื่อย ฝืน หงุดหงิด
ประสบการณ์ชีวิต
ถึงจะเผชิญสถานการณ์เดียวกัน แต่ความบาดเจ็บในสมองก็ต่างกันได้ตามนิสัยส่วนตัวหรือประสบการณ์ที่เผชิญมาของแต่ละคน คนใจเย็นอาจะปล่อยวางเรื่องรบกวนจิตใจได้ แต่คนกับที่ใช้ชีวิตแบบคิดเล็กคิดน้อย อาจจะกระทบกระเทือนกับเรื่องนี้มากกว่า
ไม่ว่าจะมีประสบการณ์มาอย่างไร จะเป็นคนที่เอาโทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง คนที่ขี้กลัว คนที่เอาแต่กังวลถึงอนาคต คนที่คิดถึงแต่อดีต คิดมาก คิดถึงแต่ความล้มเหลว คนที่กลัวว่าจะถูกแฉจึงคิดมากจนนอนไม่หลับ ประสบการณ์ความคิดเหล่านี้คือตัวการใหญ่ของสมองล้าเช่นกัน
มาเช็คระดับอาการสมองล้ากันนะคะ
อาการระดับเบา
สมองล้าระยะแรกจะเริ่มมีอาการไม่สบายตัวเมื่อตื่นตอนเช้า หัวตื้อ ขี้หลงขี้ลืม ปวดหัวบ่อย แต่อาจจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะต้องทำงานเยอะ อยู่ด้วยคามเคยชิน คิดว่าเดี๋ยวก็หายเอง จึงไม่หาทางแก้ไข อาการเหล่านี้เตือนว่าสมองส่วนไฮโปทาลามัสกำลังเจอศึกหนักแล้ว
อาการระดับกลาง – รุนแรง
อาการระดับเบาส่วนมากเกี่ยวโยงกับไฮโปทาลามัสเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิต แต่เพราะเห็นเป็นอาการเบาๆ จึงไม่สนใจ ซึ่งหากปล่อยไว้อาการอาจเข้าสู่ระดับกลาง เช่น ส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น กระสับกระส่าย วิตกกังวล ใจเต้นเร็ว ตัวเย็นวูบวาบ ปวดหัวส่งผลต่อระบบไร้ท่อและระบบเผาผลาญอาหาร ทำให้การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ ระบบเผาผลาญผิดปกติ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เพลียเรื้อรัง ผิวพรรณหยาบกร้าน แก่ก่อนวัย และอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอและอักเสบได้ง่าย เช่น ลำไส้อักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เป็นหวัดบ่อย
ส่วนใหญ่เมื่ออาการมาถึงขั้นนี้อาจจะละเลยเรื่องการดูแลสมอง แต่ไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ปวดหัวก็กินยา ปวดท้องก็กินยา แต่หากปล่อยให้สมองล้านานๆไป อาจจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายต่อร่างกายอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ความดันสูง โรคหัวใจ เบาหวาน แผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่าโรคร้าย มีส่วนหนึ่งมาจากอาการสมองล้า เพราะสมองก็คือศูนย์บัญชาการของร่างกายทั้งหมดนั่นเอง
ข้อมูลจาก : goodlifeupdate