fbpx skip to Main Content
อาหารเช้า

อาหารมื้อเช้าสำคัญต่อร่างกาย

 อาหารเช้าสำคัญต่อร่างกาย 

อาหารเช้า

อาหารเช้าสำคัญต่อร่างกาย

อาหารเช้าสำคัญอย่างไร

อ.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านโภชนาการ สสส. ได้อธิบายว่า อาหารทุกมื้อล้วนมีความสำคัญ แต่ในบรรดาอาหารแต่ละมื้อที่เรากิน มื้อที่มีความสำคัญที่สุดคือ ‘อาหารเช้า’ เนื่องจากร่างกายอดอาหารมาตลอดทั้งคืน อาหารเช้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานจากอาหารมื้อเย็น       ไปเลี้ยงหัวใจให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย  พอตื่นเช้ามา หลังจาก 9-10 โมง เราจะเริ่มหิว

ดังนั้นจึงต้องกินอาหารเช้าเข้าไปทดแทนพลังงานที่เสียไป อีกทั้งอาหารเช้ายังช่วยเติมพลังงานให้กับร่างกายและสมอง ทำให้สมองของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งวัน การกินอาหารเช้ายังช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันโรคหัวใจ และป้องกันโรคด้วนได้อีกด้วย

และยังมีอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไม่กินมื่อเช้า เพราะมีความเข้าใจผิดคิดว่าการจะลดน้ำหนักต้องอดอาหาร แท้จริงแล้วคนที่ไม่กินอาหารเช้ายิ่งจะทำให้อ้วน  เพราะเมื่อไม่กิน ในช่วง 10.00 – 12.00 น ก่อนเวลาอาหารกลางวันยิ่งจะทำให้ร่างกายโหย สมองจะหลั่งสารเคมีเพื่อให้เรากินอาหารมากขึ้น ทำให้กินจุกกินจิบ และจะกินมื้อเที่ยงและมื้อเย็นมากทำให้อ้วนได้ เพราะได้รับพลังงานส่วนเกิน และคนที่ไม่กินมื้อเช้าการเผาผลาญพลังงานจะลดลงถึง 10% ฉะนั้นการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักจึงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง ถ้าเราอดอาหารมื้อใดสักมื้อหนึ่งเพื่อลดน้ำหนัก จะทำให้เกิดการโยโย่ เอฟเฟค (YOYO Effect)  ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงควรที่จะกินอาหารให้ครบสามมื้อ แต่ให้ควบคุมปริมาณอาหารแทน

อาหารเช้า

อาหารเช้าสำคัญต่อร่างกาย

ไม่กินอาหารเช้าต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานทำให้เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ตามมา ดังนี้

  1. โรคอ้วน เพราะการอดอาหารมื้อเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้มื้อต่อๆ ไปกินหนัก กินของหวานเข้าไป แถมอัตราการเผาผลาญยังลดลงอีกด้วย
  2. โรคเบาหวาน การงดมื้อเช้าทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งหากกินอาหารเช้าเป็นประจำ จะช่วยลดภาวะผิดปกติดังกล่าวที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 35-50
  3. โรคอัลไซเมอร์ การรับประทานอาหารเช้าจะช่วยไปกระตุ้นพลังให้กับสมองและทำให้มีความจำที่ดีได้ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเราอดอาหารมื้อเช้าจะทำให้ร่างกายไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า หลงลืม ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ หากทำเป็นประจำต่อเนื่องนานๆ อาจนำมาซึ่งโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างแน่นอน
  4. โรคเส้นเลือดในสมอง และโรคหัวใจ เพราะตอนเช้าหลังจากที่เราตื่นนอนเลือดของเราจะมีความเข้มข้นสูง ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอุดตันได้ ซึ่งจากผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2003 พบว่า การรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้
  5. โรคกรดไหลย้อน โรคนี้ปัจจัยหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม และการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น บางรายไม่ชอบรับประทานอาหารเช้า แต่หันไปพึ่งพาเครื่องดื่มคาเฟอีน อย่าง กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ เพียงอย่างเดียว ซึ่งเครื่องดื่มเหล่านี้จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากขึ้น
  6. โรคนิ่ว การไม่รับประทานอาหารนานกว่า 14 ชั่วโมง จะทำให้คอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีจับตัวกัน และหากปล่อยทำเป็นประจำไปนานๆ จะทำให้กลายเป็นก้อนนิ่วได้ ซึ่งการรับประทานอาหารเช้าเป็นประจำจะช่วยให้ตับปล่อยน้ำดีออกมาละลายไม่ให้คอเลสเตอรอลจับตัวกัน สามารถป้องกันการเกิดโรคนิ่วได้
อาหารอะไรที่เราควรรับประทานในอาหารเช้า

แนะนำว่าต้องเป็นอาหารที่ได้คุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ และหลากหลาย พยายามเลือกกินธัญพืชไม่ขัดสี เสริมโปรตีนในอาหารเช้า นม ไข่ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา และกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงมีกากใยสูง

อาหารเช้า

อาหารเช้าสำคัญต่อร่างกาย

อาหารเช้าเป็นสิ่งที่เราควรกินเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าเรากินมื้อเช้าในวัยทำงานจะทำให้เรากระฉับกระเฉงในการทำงานมากขึ้น ร่างกายแข็งแรง                   แต่ถ้าเป็นเด็กวัยเรียนก็จะทำให้มีสมาธิในการเรียน มีภูมิคุ้มกันที่ดี เพราะฉะนั้นอาหารเช้าควรกินให้เป็นประจำสม่ำเสมอ หันมากินอาหารเช้าทุกวันกันนะคะ เพราะอาหารเช้ามีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างมากหมาย หากไม่มีเวลาก็ลองทำอาหารเช้าตั้งแต่ตอนเย็น พอตื่นมาเราก็จะได้รับประทานได้เลย

4 เมนูอาหารเช้าง่ายๆ เพื่อสุขภาพ

 

มุสลี่ โยเกิร์ต ผลไม้+น้ำผึ้ง

เมนูที่ 1 muesli and yoghurt

เมนูอาหารเช้าที่สามารถทำได้ง่ายๆ ประหยัดเวลาพร้อมได้รับทั้งเส้นใยอาหาร โปรตีนจากโยเกิร์ต สารพัดวิตามิน เกลือแร่ และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงเจ้าจุลินทรีย์ตัวสำคัญทั้งหลายในโยเกิร์ตที่ช่วยการทำงานของลำไส้


ไข่ดาวทอดแบบไม่ใส่น้ำมัน + ขนมปังโฮลวีตปิ้ง 2 แผ่น + มะเขือเทศและหอมหัวใหญ่ + น้ำผลไม้คั้นสด
เมนูที่ 2 breakfast toast
นำไข่ดาววางเป็นไส้ขนมปังที่เพิ่งปิ้งเสร็จใหม่ กรอบ หอม นุ่ม อุ่น ๆ วางมะเขือเทศสดและหอมใหญ่ที่หั่นเป็นแว่น โรยพริกไทย เกลือ บีบมะนาวเล็กน้อย ใส่น้ำผึ้งแท้นิดนึง คุณจะได้แซนด์วิชแสนอร่อยที่อิ่มท้องแบบไม่อ้วนด้วย

ไข่ลวก 2 ฟอง กับขนมปังปิ้ง และสลัดผักน้ำมันมะกอก+ผลไม้สด

เมนูที่ 3 ไข่นม สลัด และผลไม้สด

ต้มไข่ไก่หรือไข่เป็ดลงไปพร้อมน้ำ ใช้เวลาประมาณ 5-6 นาที สำหรับคนที่อยากได้ไข่ลวกเกือบสุก จากนั้นปรุงรสตามใจชอบเลย ใครชอบซอสแมกกี้ ใครชอบเกลือพริกไทย ก็อร่อยได้ทั้งหมด ทานคู่กับผักสลัดและขนมปังปิ้ง บางคนใส่ไข่ลวกลงไปในขนมปัง เป็นแบบแซนด์วิช แล้วใส่ผักสลัดลงไปด้วยตามด้วยผลไม้สด อาหารเช้าทีทั้งอร่อยและมีประโยชน์


มื้อเช้าไทย ๆ ข้าวต้มปลา + น้ำเต้าหู้ + ผลไม้สด

เมนูที่ 4 แบบไทยๆ


เลือกปลาที่หาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นปลาเก๋า ปลากระพง หรือปลาช่อน ก็อร่อยได้หมด แต่สำหรับน้ำซุป ให้หลีกเลี่ยงซุปก้อน หรือเครื่องปรุงรสที่ไม่สด ควรใช้กระดูกหมูทำน้ำซุปเก็บไว้ในช่องฟรีซเพื่อนำออกมาใช้ได้เสมอ หรือใช้กระดูกปลาต้มน้ำซุปก็ได้ค่ะ ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว เกลือ พริกไทย และเตรียมขิงตำกับพริกขี้หนู ปรุงด้วยเต้าเจี้ยวและน้ำตาล เอาไว้เติมข้าวต้มในชามของคุณ โรยหน้าด้วยคื่นไช่ที่ขาดไม่ได้สำหรับข้าวต้ม ใครชอบขิงซอยก็ใส่เพิ่มเติมได้ เมนูนี้ดัดแปลงได้เลยสำหรับคนที่ไม่ชอบทานปลา ให้ใช้กุ้งทะเล อย่าใช้กุ้งเลี้ยงเดี๋ยวจะไม่ใช่เมนูสุขภาพ จากนั้นตามด้วยน้ำเต้าหู้ที่ไม่ใส่น้ำตาล และผลไม้สด 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thailandth.or.th, dulcie-and-cubano.blogspot.com, framedcooks.com, www.ringfingertanline.com,cosmenet.in.th 

 

อ่านบทความสารน่ารู้สุขภาพเพิ่มเติมได้ ที่นี้

Back To Top