10 เทคนิคเก็บของในตู้เย็นให้อยู่นาน
หลายครั้งที่เราซื้อผักมาแล้วกินไม่หมดก็ยัดใส่ไปในตู้เย็นครั้งละมาก ๆ พอจะเอามากินก็สายเกินไป ผักแสนน่ากินกลายเป็นผักที่เหี่ยว ไม่สดเหมือนเดิมอีกต่อไป วันนี้ลองมาดูวิธีที่ถูกต้องสำหรับการเก็บผักให้อยู่ได้นานกันดีกว่า
ก่อนจะเก็บผักต้องรู้เรื่องก่อนบ่อยครั้งที่เราซื้อของมาแล้วหยิบอะไรได้ ก็มักจะยัดใส่ไปในตู้เย็นครั้งละมาก ๆ จนตู้เย็นสูญเสียความเย็นและทำงานหนัก ทำให้เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้อยู่ได้ไม่นาน เราไม่ควรเก็บผักไว้รวมกัน จะทำให้เกิดการเน่าเสีย และเสื่อมสภาพเร็วขึ้น การเก็บผักด้วยวิธีแช่น้ำ ไม่ควรแช่ผักลงในน้ำทั้งตัน เพราะจะทำให้วิตามินละลายน้ำเสียไป การเก็บผักเล็กๆน้อยๆ ที่ใช้ในครัวและเก็บในตู้เย็นนั้น ควรล้างผักให้สะอาดก่อนเพราะผักที่ซื้อจากตลาดขายปลีกมักไม่สะอาด หากยังไม่ได้ใช้ทันทีให้ล้างทั้งต้นด้วยน้ำสะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำจริงๆ จึงเอาเข้าเก็บตู้เย็นได้ ลองมาดูวิธีที่ถูกต้องสำหรับการเก็บของในตู้เย็นให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น 10 วิธีนี้กันดีกว่า
- ห่อผักด้วยกระดาษ ผักสด ควรจะทานภายใน 1-2 วัน เพื่อให้ได้สารอาหารสูงสุด แต่ถ้าต้องการแช่ผักในตู้เย็น หลังจากล้างผักและเสร็จแล้ว ให้ห่อผักด้วยกระดาษเช็ดมือแผ่นใหญ่ แล้วค่อยนำไปแช่ตู้เย็น กระดาษจะช่วยเก็บความชื้นไม่ให้ระเหยออกไป ซึ่งจะช่วยคงความสดให้นานขึ้น และอย่าลืมเด็ดผักใบที่ช้ำหรือเน่าทิ้งไปก่อนด้วย
- ผลไม้สุกง่ายใส่ถุงสูญญากาศ ผลไม้ต่าง ๆ ที่สุกง่าย เช่น แอปเปิ้ล อะโวคาโด องุ่น ลูกแพร พริกไทยสด และเห็ดทุกชนิด ให้ใส่ถุงพลาสติกสูญญากาศ และพยายามอย่าให้ผิวของผลไม้แต่ละลูกสัมผัสกัน จะช่วยเก็บไว้ได้นานขึ้น
- ผลไม้ดิบใส่ถุงกระดาษเจาะรู ผลไม้ดิบที่ยังเป็นสีเขียว ให้นำใส่ถุงกระดาษที่เจาะรู อากาศที่ไหลเวียนจะช่วยคงความสดได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้ก๊าซเอธิลีนหรือก๊าซที่ทำให้ผลไม้สุกยังคงอยู่ในถุง ไม่ไปรบกวนผลไม้ชนิดอื่น
- น้ำส้มสายชูใช้แช่อาหารสดเนื้อสดและอาหารทะเล หากไม่อยากให้มีกลิ่นและเสียไว ให้นำไปแช่น้ำส้มสายชูสักพักก่อนจะนำเข้าตู้เย็น และหากจะเอาออกมาทำอาหาร ก็ให้นำไปแช่ในน้ำเกลือผสมน้ำส้มสายชูสักพักก่อนเช่นกัน
- ผลไม้เบอร์รี่ล้างด้วยน้ำอุ่น ผลไม้หมวดเบอร์รี่มักไม่ถูกกับความร้อนของบ้านเรา ทำให้เสียง่ายมาก ลองนำผลไม้อย่าง เชอร์รี่ สตรอวเบอร์รี่หรือบลูเบอร์รี่ ใส่ตระกร้าแล้วล้างผ่านน้ำร้อนแบบเร็ว ๆ ประมาณ 30 วินาที หลังจากนั้นให้เทลงบนผ้า เพื่อคลายความร้อน แล้วค่อยนำไปแช่ในตู้เย็น ความร้อนจะฆ่าสปอร์แบคทีเรีย ทำให้เบอร์รี่คงความสดได้นานขึ้น
- ห่อขนมปังด้วยผ้าบาง ๆ ขนมปังปกติจะมีอายุ 4-5 วัน แต่เมื่อเจอความร้อนจะเป็นราได้ง่ายมาก ถ้าอยากจะยืดอายุขนมปังหละก็ ให้ห่อขนมปังด้วยผ้าบาง ๆ เพื่อเก็บความชื้น แล้วใส่ถุงก่อนจะนำเข้าตู้เย็น วิธีนี้จะทำให้ขนมปังยังนุ่มเมื่อนำออกมาอุ่นทาน
- อย่าแช่ผักและผลไม้รวมกัน ผลไม้สุกจะปล่อยก๊าซเอธิลีนออกมา ทำให้ผักที่ว่างอยู่ใกล้ ๆ เสียเร็ว ทางที่ดีควรเก็บผักและผลไม้แยกถุงหรือแยกชั้นกัน ยิ่งแช่ห่างกันมากเท่าไรผักและผลไม้ก็จะช่วยยืดอายุได้นานขึ้น
- ใส่เห็ดในกล่องพลาสติก เห็ดเป็นอาหารอีกหนึ่งประเภท ที่เสียค่อนข้างเร็ว แนะนำให้ล้างให้สะอาดแล้วตากลมให้แห้ง จากนั้นเก็บใส่กล่องพลาสติก แล้วปิดฝาไม่ต้องสนิท ให้ลมเข้าไปเล็กน้อย หรืออาจให้แผ่นพลาสติกใส ห่อแล้วเจาะรูเล็ก ๆ ที่ด้านบน เพื่อป้องกันความชื่น ซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้เห็ดเน่าเสียนั่นเอง
- เก็บไข่ในชั้นวางไข่สด ควรเก็บไว้ในกล่องไข่หรือชั้นวางไข่ในตู้เย็น เพื่อกันการกระแทกและป้องกันการระเหยของน้ำออกจากไข่ที่สำคัญไม่ควรล้างไข่ก่อนเก็บเข้าตู้เย็น เพราะจะทำให้อากาศ สิ่งสกปรก และกลิ่นต่าง ๆ ในตู้เย็น ซึมเข้าภายในฟองไข่ได้ไว ทำให้ไข่ไก่เสียง่าย นอกจากนี้ก็ควรวางไข่ให้ด้านแหลมลง ให้ด้านป้านหงายขึ้น วิธีนี้จะทำให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางฟองพอดี
- วางขวดแนวตั้งเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ นมสด น้ำหวาน ไม่ควรวางในแนวนอน เพราะฝาขวดอาจจะหลวมหรือเปิดออก ทำให้ออกซิเจนผ่านเข้าไปในขวดได้ง่าย เป็นเหตุให้เครื่องดื่มเน่าเสียนั่นเอง
วิธีลดสารเคมีในผักก่อนเก็บ
1.ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่ผักนาน 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำ สะอาดหลายๆครั้ง จะสามารถลดสารตกค้างได้ร้อยละ 90-95 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก
2.ใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดความเข้มข้นร้อยละ 5 ผสมในอัตราส่วน 1:10 เช่น น้ำส้มสายชุ 1 ถ้วยตวงต้องใช้น้ำ10 ถ้วยตวง นำไปแช่ผัก 10-15 นาที แล้วล้างน้ำสะอาด สามารถมารถลดสารเคมีได้ร้อยละ 60-84 ขึ้นอยู่ กับชนิดของผัก
3.ใช้น้ำล้างผักปล่อยให้ไหลผ่านผัก โดยเด็ดผักเป็นใบๆใส่ตระแกรงโปร่ง แล้วใช้มือช่วยคลี่ใบผักล้างนาน 2 นาที สามารถลดสารเคมีได้ร้อยละ 25-63 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก
3 หลักเก็บผักให้สด
การเก็บรักษาผักสดให้คงอยู่ในสภาพที่ดี และอยู่ได้นานที่สุดนั้นต้องเก็บให้เหมาะสมกับชนิดของผักนั้นๆ โดยจะต้องแบ่งผักออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
- กลุ่มผักที่เน่าเสียง่าย เช่น เห็ด ผักชี ผักกาดหอม ถั่วงอก ถั่งฝักยาว ผักบุ้ง ชะอม กลุ่มผักที่เก็บได้ในระยะเวลาจำกัด เช่น ผักกาด ผักคะน้า มะเขือเทศ และกลุ่มผักที่เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นๆ เช่น ฟัก แฟง เผือก มัน ฟักทองเป็นต้น ผักเหล่านี้แม้จะเก็บในตู้เย็นก็ยืดเวลาได้ไม่นานนัก แต่การเก็บที่ดีที่สุดคือใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง จะช่วยเก้บไว้ได้นานขึ้น 5-7 วัน
- การเก็บผักนั้นควรแยกเก็บตามชนิดของผัก ไม่ควรเก็บผักและผลไม้ให้อยู่ด้วยกัน เพราะทำให้เกิดการเน่าหรือเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรเก็บผักแต่ละชนิดโดยแยกกันเป็นสัดส่วน การเก็บผักนั้นไม่ควรล้างก่อนเก็บ ควรจะล้างเมื่อจะนำมาประกอบอาหารเท่านั้น ประเภทผักใบ ถั่วลันเตา ถั่วแขก เหล่านี้ควรแยกใส่ถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 45 องศาฟาเรนไฮต์ จะช่วยให้คงความสดอยู่ได้นานขึ้น
- ผักหัวประเภทแครอท หัวผักกาด หัวบีท เผือก ให้ตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ มิฉะนั้นความหวานในหัวจะลดลงส่วนผักที่มีเปลือกหนา เช่น ฟักทอง ฟัก แฟง มันฝรั่ง เผือก เก็บโดยไม่ต้องล้างเช่นเดียวกัน โดยวางไว้ในที่เย็นๆอากาศถ่ายเทได้ และอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 55-65 องศาฟาเรนไฮต์ จะช่วยให้เก็บไว้ได้นานขึ้น
เพียงเท่านี้เราผักที่ซื้อมาก็จะอยู่กับเรานานขึ้น แต่ทางทีดี ‘ผักสด’ ควรจะกินภายใน 1-2 วัน เพื่อให้ได้สารอาหารสูงสุด แต่ถ้าต้องการแช่ผักในตู้เย็น หลังจากล้างผักและเสร็จแล้ว ให้ห่อผักด้วยกระดาษเช็ดมือแผ่นใหญ่ แล้วค่อยนำไปแช่ตู้เย็น กระดาษจะช่วยเก็บความชื้นไม่ให้ระเหยออกไป ซึ่งจะช่วยคงความสดให้นานขึ้น และอย่าลืมเด็ดผักใบที่ช้ำหรือเน่าทิ้งไปก่อนด้วยนะค่ะ
ที่มา: https://www.tescolotus.com , www.thaihealth.or.th