fbpx skip to Main Content
สุขภาพไต

8 พฤติกรรมทำลายไตที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้

พฤติกรรมทำลายสุขภาพไต 

หน้าที่ของไตที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ

ไตเป็นอวัยวะสำคัญส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งประกอบด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเช่นเดียวกับอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร สมอง ซึ่งอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ ต่างก็ทำหน้าที่เฉพาะส่วน แต่มีการประสานงานกันเป็นอย่างดี จึงทำให้ร่างกายเป็นปกติสุขอยู่ได้ หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเสีย หรือถูกทำลาย ก็จะมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะอื่นได้

หน้าที่ของไตมีหลายอย่าง  ได้แก่

  • การปรับสมดุลน้ำในร่างกาย

การปรับสมดุลน้ำในร่างกาย

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมการขับหรือเก็บน้ำไว้ในร่างกาย เมื่อร่างกายขาดน้ำ เช่น อากาศร้อนจัด และเสียน้ำไปทางเหงื่อมาก ร่างกายจะปรับสมดุลน้ำ โดยจะกระหายน้ำและดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนน้ำที่เสียไป ร่างกายจึงจะอยู่ในภาวะสมดุล หรือเมื่อดื่มน้ำเป็นจำนวนที่มากเกินความต้องการ ไตก็จะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินออกเช่นเดียวกัน แต่เมื่อใดที่ไตผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับสมดุลน้ำได้ จะเกิดภาวะน้ำเกินหรือภาวะขาดน้ำ ซึ่งถ้ารุนแรงมาก จะทำให้มีผลกระทบต่อสมอง จนมีอาการสับสน ซึม และชักได้

  • การปรับสมดุลของสารเกลือแร่และกรด-ด่างในร่างกาย

การปรับสมดุลของสารเกลือแร่ กรดและด่างในร่างกาย

ตามปกติไตสามารถขับเกลือแร่ส่วนที่เกินความต้องการออกมาในรูปของปัสสาวะได้ เช่น เมื่อรับประทานอาหารรสเค็มจัด ร่างกายจะปรับเกลือแร่จนรู้สึกกระหายน้ำ ทำให้ต้องดื่มน้ำมากขึ้น และจะขับเกลือแร่ส่วนเกินที่คั่งค้างอยู่ออกจากร่างกาย ทางปัสสาวะ แต่ถ้าไตเสียหน้าที่ คือ ไม่สามารถขับเกลือแร่ที่เกินได้ จะทำให้เกิดอาการบวมบริเวณใบหน้า มือ และเท้า ถ้าอาการรุนแรงก็มีผลเสียต่อหัวใจด้วย โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งใช้ในการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อ เมื่อรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียม ไตจะทำหน้าที่ควบคุมระดับของโพแทสเซียมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ระดับของโพแทสเซียมในเลือดจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนมีผลต่ออวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ จะมีการเต้นที่ผิดปกติ จนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้ โดยปกติอาหารโปรตีนที่รับประทานจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาพลังงาน และสารเคมีต่างๆ ตลอดจนเกิดกรดซึ่งจะถูกขับออกจากร่างกายเพื่อรักษาสมดุล โดยไตมีหน้าที่หลักในการขับกรด เมื่อใดที่ไตไม่สามารถทำงานได้ ร่างกายก็จะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายไม่เป็นปกติสุข

  • การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย

ร่างกายมีกระบวนการขับของเสียออกจากร่างกายหลายวิธี เช่น ขับออกทางอุจจาระ ทางเหงื่อ ทางลมหายใจ ทางปัสสาวะ การเผาผลาญโปรตีนจากอาหาร และการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้เกิดของเสียที่เรียกว่า ยูเรีย (urea) และครีอะตินิน (creatinine) ซึ่งจะถูกขับออกทางไต นอกจากยูเรียแล้วยังมีสารตกค้างอื่นๆ อีกหลายชนิด รวมทั้งยาที่รับประทาน และฉีดเข้าสู่ร่างกาย เมื่อใดที่ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจะเกิดการตกค้างของสารต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งมีพิษต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ นอนไม่หลับ อาจซึมลงจนถึงชักได้

  • การผลิตฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย
การเดินออกกำลังกายรับแสงแดดทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดี

การเดินออกกำลังกายรับแสงแดดทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดี

ปกติไตผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ ฮอร์โมนเรนิน (hormone renin) ฮอร์โมนอิริโทรพอยอีติน (hormone erythropoietin) และวิตามินดี (vitamin D) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

ฮอร์โมนเรนิน

ช่วยควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย และการดูดซึมของเกลือแร่ที่ไต ซึ่งมีผลต่อความดันโลหิตเช่นกัน ดังนั้น ถ้าไตเสื่อม จะเกิดความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนเรนิน มีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้

ฮอร์โมนอิริโทรพอยอีติน

เป็นฮอร์โมนที่จำเป็น ช่วยให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง ในกรณีที่ไตเสียหน้าที่ การหลั่งสารนี้จะลดลง ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง และเกิดภาวะโลหิตจางได้

วิตามินดี

ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร และช่วยในการเสริมสร้างกระดูก หากไตเสื่อม จะทำให้วิตามินดีไม่สามารถทำงานได้ มีผลทำให้ระดับของแคลเซียมในเลือดลดลงและกระดูกเสื่อมได้ โดยทั่วไป วิตามินดีได้รับจากอาหารและสังเคราะห์ผ่านกระบวนการของผิวหนังที่ได้รับแสงอาทิตย์ ซึ่งมีแสงอัลตราไวโอเลต

1.ทำงานหนักต่อเนื่อง

การทำงานหนักต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ร่างกายอ่อนแรง สมองอ่อนล้าแล้ว ยังทำให้ไตทำงานหนัก โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ เมื่อเวลาผ่านไป จะทำให้ไตเสื่อม หากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จะเป็นการเร่งให้ไตเสื่อมเร็วมากขึ้น จนทำให้กลายเป็นโรคไตได้ในที่สุด

2.ขาดการพักผ่อน

การพักผ่อนในแต่ละวัน จะทำให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟู ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไตเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยการพักผ่อน หากไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้การทำงานของไตบกพร่อง จนไตเกิดการเสื่อมไปเรื่อย ๆ

3.เครียด

ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่เป็นพิษออกมา ความเครียดยังทำให้เราหายใจสั้น หายใจเข้าไม่เต็มปอด จึงทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ไตก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการออกซิเจน ความเครียดจึงส่งผลเสีย ทำให้การทำงานของไตลดลง

4.ดื่มน้ำไม่พอดี

หน้าที่การทำงานหลักของไต คือการขับของเสียออกจากร่างกาย ออกมาพร้อมกับปัสสาวะ การดื่มน้ำมากไป จะทำให้ไตทำงานหนักมากเกินไป แต่การดื่มน้ำน้อยเกินไป ก็ไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นควรดื่มน้ำในปริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย ใน 1 วันเราควรดื่มน้ำให้ได้ 1 – 1.5 ลิตร

5.ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

เครื่องดื่มหลายชนิดจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำในร่างกายมากขึ้น เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้เต็มไปด้วยคาเฟอีน มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำบ่อยขึ้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระยะยาวยังส่งผลเสียทำให้ไตเสื่อมสภาพได้

6.กินยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

การทานยาบางชนิดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตได้ เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด โดยจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง

7.กินอาหารรสจัด

พฤติกรรมการทานอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นอาหารรสเค็มจัด รสเผ็ดจัด ล้วนส่งผลเสียต่อการทำงานของไต เนื่องจากการทานอาหารสเค็มจัด จะให้ร่างกายต้องดื่มน้ำเพื่อขับเกลือแร่ส่วนเกินออกมา ส่วนการทานอาหารรสเผ็ดจัดยังทำให้ร่างกายต้องการน้ำเพื่อขับรสเผ็ด ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น

8.มีเพศสัมพันธ์บ่อย

ตามหลักความเชื่อของแพทย์แผนจีน การมีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ จะทำให้พลังงานที่เก็บอยู่ในไตลดลง จึงส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้แก่เร็ว ผิวหนังเกิดการเหี่ยวย่น

การดูแลรักษาไตเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อช่วยถนอมไตให้เสื่อมสภาพช้าลงนั่นเอง

 

ขอบคุณบทความจาก : women.sanook.com, www.saranukromthai.or.th, www.health.campus-star.com

Back To Top