fbpx skip to Main Content
วัดความดัน

สมุนไพรไทย ช่วยลดความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High blood pressure) เป็นโรคพบได้บ่อยมากอีกโรคหนึ่งในผู้ใหญ่ พบได้สูงถึง ประมาณ 25-30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง และพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ ในบางประเทศ พบโรคนี้ได้สูงถึง 50% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบโรคนี้ได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก

โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป ทั้งนี้ความดันโลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท

โรคความดันโลหิตสูงเป็นส่วนที่ทําให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจอีกด้วย ซึ่งการป้องกันด้วยอาหารการกินถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง ดังนี้ค่ะ

 

1. กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบ

สารแอนโทไซยานินในกระเจี๊ยบแดงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้หลอดเลือด จึงสามารถลดความดันโลหิตได้

 

2. ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย

มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบได้ดี ซึ่งคนจีนและคนเวียดนามจะกินขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ

 

3. บัวบก

บัวบก

มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือดให้เส้นเลือดฝอยมีการไหลเวียนดีขึ้น จึงสามารถลดความดันโลหิตได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท มีฤทธิ์คลายความเครียด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วย

 

4. พลูคาว (ผักคาวตอง)

ผักคาวตอง

นับเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมาก ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (Atherosclerosis)

 

5. มะรุม

มะรุม

พบว่าในส่วนของใบและราก มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ โดยสามารถนํารากมาต้มกินเป็นซุป, นํายอดมาต้มกิน, นํารากมาต้มกับรากย่านาง กินหรือใช้ยอดมะรุมสด นํามาโขลกคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำผึ้งพอหวาน กินวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว จะช่วยลดความดัน ซึ่งเมื่อหยุดกินยาความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้นมาอีก จึงต้องกินอย่างต่อเนื่อง

 

6. กระเทียม

กระเทียม

สมุนไพรกลิ่นฉุนและเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเรานิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่าง ๆ มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิตสูงได้ดีค่ะ แถมยังหาง่ายอีกด้วย โดยเรื่องนี้ถูกยืนยันโดยนักวิจัยจากออสเตรเลีย อย่างอาจารย์คาริน รีด อาจารย์ประจำคณะแพทย์เวชทั่วไป แห่งมหาวิทยาลัยอเดเลด ออสเตรเลีย ที่พบว่า สารสกัดจากกระเทียมสามารถลดความดันโลหิตลงได้ แต่ก็ควรเป็นหัวกระเทียมแก่นะคะ เพราะหากเป็นกระเทียมที่ยังอ่อนอยู่หรือกระเทียมที่ผ่านการปรุงสุกแล้วละก็ จะได้สรรพคุณไม่เทียบเท่ากับหัวกระเทียมแก่ค่ะ

 

7.ใบกระเพรา

ใบกระเพรา

ใบกระเพราที่เรานิยมนำมันมาผัดกับเนื้อสัตว์ นอกจากจะช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารแล้วยังช่วยลดความดันโลหิดได้อีกด้วยละค่ะ ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำให้ผู้ที่มีความดันสูงรับประทานใบกะเพราเป็นประจำ โดยวิธีการรับประทานใบกะเพราก็มีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การนำใบมาเคี้ยวรับประทานกันสด ๆ นำไปคั้นแล้วผสมกับน้ำอุ่น นำไปตากแห้งเป็นใบชามาชงผสมกับชาและดอกคาโมมายด์ หรือจะนำไปผัดกับเนื้อสัตว์เป็นแล้วรับประทานเป็นกับข้าวก็ทำได้ทั้งนั้นเลย

8.ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่เรามักจะนำไปเป็นเครื่องปรุงต้มยำ เหตุก็เพราะว่าตะไคร้มีกลิ่นหอม ซึ่งนอกจากมันจะมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะและขับลมแล้ว ยังช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วยละ นอกจากนี้กลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยยังช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่เนื่องมาจากความเครียดได้อีกด้วย และที่สำคัญตะไคร้ยังเป็นพืชสมุนไพรที่หาง่ายและสามารถปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้
วิธีการรับประทานตะไคร้ ก็สามารถทำได้ตั้งแต่นำมาทำยำตะไคร้ ใส่เป็นเครื่องปรุงต้มยำ หรือแม้แต่นำมาต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยก่อนอาหาร อาจจะเติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อให้รสชาติกลมกล่อมมากขึ้นค่ะ

9. ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

 

สมุนไพรที่มีรสชาติขมปี๋จนใคร ๆ ต้องหลีกไกลอย่างฟ้าทะลายโจรนี้ เป็นสมุนไพรที่มากสรรพคุณจนคนที่เคยไม่ชอบมันจะต้องเปลี่ยนความคิดเล โดยเฉพาะสรรพคุณในการลดความดันโลหิต ซึ่งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรและพบว่า สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด และลดอัตรการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วจนเกินไป

10. ขิง

ขิง
ขิง เป็นสมุนไพรโบราณที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมากกว่า 5,000 ปี ซึ่งไม่เพียงช่วยย่อยอาหาร ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย แต่ก็ควรใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากขิงเป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อน หากรับประทานมากไปอาจจะทำให้เกิดร้อนใน และแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดีและรับประทานยาละลายลิ่มเลือดควรปรึกษาแพทย์และระมัดระวังในการใช้ด้วยค่ะ

 

11. มะกรูด

มะกรูด

มะกรูด เป็นสมุนไพรที่มากด้วยสรรพคุณทางยา แถมยังนิยมส่วนของใบและน้ำของผลมะกรูดมาใช้ในการทำอาหารอีกด้วย นอกจากนี้มะกรูดมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาช่วยลดความดันโลหิด และช่วยต้านเชื่อแบคเรียได้อีกด้วย โดยการนำใบมะกรูด 7-10 ใบมาต้มน้ำดื่มเช้าเย็นเป็นประจำทุกวันก็จะช่วยให้ความดันโลหิตเป็นปกติได้ค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.health-th.com, www.health.kapook.com

Back To Top