fbpx skip to Main Content
ยา

10 พฤติกรรมทำเชื้อดื้อยา

การดื้อยาเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรียมากจนเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองขึ้นจนกลายเป็น ซูเปอร์บัค (Super Bug) ที่ดื้อต่อยาและหายารักษาได้ยากจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตจากการติดเชื้อในที่สุด โดยปัจจุบันพบว่า ในทุก 15 นาทีมีคนไทย 1 คนตายเพราะเชื้อดื้อยา

ยา

  1. เคยซื้อยาต้านแบคทีเรียกินตามคนอื่น

การซื้อยาต้านแบคทีเรียมารับประทานเองอาจได้ยาที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคนั้นได้ และส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้

       2. เคยหยุดรับประทานยาต้านแบคทีเรียเมื่ออาการดีขึ้น

ยาต้านแบคทีเรีย ต้องรับประทานติดต่อตามที่กำหนด หากหยุดรับประทานอาจมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่และเชื้อโรคจะพัฒนาตัวเองไปสู่การดื้อยาได้

       3. เคยซื้อยาต้านแบคทีเรียกินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ ในครั้งก่อนๆ

ยาต้านแบคทีเรียจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคแต่ละชนิดต่างกัน การใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่เลือกให้เหมาะกับชนิดเชื้อโรค นอกจากจะทำให้ไม่หายแล้ว ยังส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้

      4. ยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย

การใช้ยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย นอกจากจะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นการใช้ยาที่เกินความจำเป็น และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

       5. เปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดที่แรงกว่าด้วยตนเอง

การใช้ยาต้านแบคทีเรียฆ่าเชื้อโรค ต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม บางครั้งอาการเจ็บป่วยต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรอาการถึงจะดีขึ้น การเปลี่ยนตัวยาที่แรงขึ้น อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

       6. เอายาต้านแบคทีเรียโรยแผล

นอกจากจะเป็นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังทำให้แผลสกปรกและเสี่ยงต่อการเกิดอาการแผลอักเสบลุกลามได้ เพราะผงในแคปซูลไม่ได้มีแต่ตัวยาเท่นั้น ยังมีผงแป้งผสมอยู่ด้วย และอาจทำให้เชื้อโรคที่แผลพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้

       7. ใช้ยาต้านแบคทีเรียผสมในอาหารสัตว์

เป็นการใช้ยาที่ผิด และอาจไม่ได้ผลอีกด้วย เนื่องจากขนาดยาที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้

        8. ใช้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่ทราบชื่อสามัญของยา

นอกจากจะเสี่ยงที่จะได้รับยาที่เคยแพ้แล้ว อาจได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อโรค

        9. เคยไปซื้อยาแก้อักเสบกินเอง

อาการอักเสบตามความเข้าใจของคนทั่วไปมีหลายแบบ เช่น อาการปวดอักเสบจากแผลหนอง อักเสบเจ็บคอ หรืออักเสบจากการปวด และไปซื้อยาแก้อักเสบกินเอง ทำให้อาจได้ยาต้านแบคทีเรียมาแทนยาแก้ปวดอักเสบ เป็นการใช้ยาแบบไม่จำเป็น

ทานยา

         10. การไม่แนะนำคนที่ใช้ยาต้านแบคทีเรีย ใช้ยาอย่างเหมาะสม

การเพิกเฉยของเรา เท่ากับการปล่อยให้มีการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมขึ้นในสังคม สุดท้ายเมื่อเชื้อโรคพัฒนาตัวเองไปสู่เชื้อดื้อยา ปัญหาจะกลับมาส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว และผู้ป่วยคนอื่นๆ ในอนาคตได้

ขอขอบคุณบทความจาก : www.thaihealth.or.th

Back To Top