อากาศแปรปวน แล้วเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง
ภมูิแภ้ตามผิวหนัง อาการกำเริบได้ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย
ผื่นแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังมีการอักเสบเรื้อรังจากปฏิกริยาทางภูมิแพ้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นไม่ใช่โรคติดต่อหรือเกิดจากความสกปรก แต่เกิดมาจากร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิที่ไวต่อการตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นต่างๆ มากเกินไป
โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง อาจจะมีอาการภูมิแพ้อื่นๆร่วมด้วย เช่น แพ้อากาศ เยื่อบุจมูกและเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ และหอบหืด
ซึ่งภาวะการดำเนินของโรคที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ คือ มีช่วงที่ภาวะโรคกำเริบ คือเกิดผื่นผิวหนังเห่อแดงและมีอาการคัน สลับกับช่วงที่มีภาวะโรคสงบ
การเกิดโรคผื่นแพ้ผิวหนังยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมของตัวผู้ป่วยเอง หรือจากบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติภูมิแพ้ซึ่งมีภูมิที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นที่เห่อมากขึ้น
แล้วควรป้องกันอย่างไร
- การ “หลีกเลี่ยง” ปัจจัยซึ่ง “กระตุ้น” ทำให้ผื่นเห่อขึ้น ดังได้กล่าวแล้ว เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในส่วนของอาหาร หากทราบว่าอาหารชนิดใด (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในแต่ละคน) เป็นเหตุทำให้โรคกำเริบก็ควรหลีกเลี่ยงเสีย
- ควรเลือกใช้ผ้าเนื้อโปร่งเช่นผ้าฝ้าย ไม่ควรใช้ผ้าขนสัตว์ หรือ หนานุ่ม เนื้อหยาบ การซักล้างผ้าและควรซักล้างผงซักฟอก หรือ น้ำยาปรับผ้านุ่มออกก่อน
- พยายามหลีกเลี่ยงอากาศ ร้อนจัด หนาวจัดเกินไป โดยเฉพาะนอนในห้องปรับอากาศซึ่งอุณหูมิเย็นจัด ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ หรือ อาบน้ำร้อนน้ำอุ่นที่อุณหภูมิสูง เพราะผิวที่แห้งอยู่แล้วจะยิ่งแห้งมากขึ้นอีก หรือการอยู่ในที่ร้อนอบอ้าว, การออกกำลังกายที่มีเหงื่อออกมากๆ
- การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่ระคาย ปราศจากน้ำหอม และอย่าฟอกสบู่บ่อยๆ ทำความสะอาดบ่อยๆ หรืออาบน้ำบ่อยๆ จนเกินไป สบู่ที่เคลือบผิวบางประเภทเมื่อล้างออกจะลื่นๆผิว ไม่ควรพยายามขัดหรือล้างให้ออกจนหมด
- หลีกเลี่ยงการใช้ อัลกอฮอล์, ยาฆ่าเชื้อโรค, ยาแดง, ทิงเจอร์, ยาหม่อง, ด่างทับทิม ฯลฯ ใส่บริเวณผื่นหรือแผล โดยคิดว่าผื่นนั้นเป็นสิ่งสรกปรกหรือเชื้อโรค เพราะแทนที่จะดีขึ้นกลับทำให้มีการระคายเคืองมาก ทำให้ผื่นกำเริบหรือเห่อขึ้นได้
- การป้องกันความแห้งของผิว ใช้สารเคลือบผิว อาจเป็นโลชั่นชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดผิวแพ้และปราศจากน้ำหอม, น้ำมันเคลือบผิว (ใช้ในเฉพาะกรณีผิวแห้งมาก) ควรทาโลชั่น ครีมบำรุงผิวชนิดไม่ก่อผิวแพ้ หรือ สารเคลือบผิวต่างๆ ภายในระยะเวลา 3- 5 นาทีหลังซับผิวหรือเช็ดตัวให้แห้ง โดยห้ามเช็ด ขัดหรือถูตัวแรงๆ
- ในกรณีทีมีอาการคันมาก แพทย์จะพิจารณาการให้ยาต้านภูมิแพ้ หรือยาแก้คัน บางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงได้
- การใช้ยาทาเฉพาะที่เพื่อทาผื่น มีการใช้ยาหลายชนิด เช่นการใช้ยาสเตียรอยด์ครีม ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่ทำให้ผื่นยุบได้เร็วได้ผลดีมาก แต่อาจกลับเป็นซ้ำขึ้นได้เร็วเช่นกัน การใช้ยาชนิดนี้ต้องมีความระวังมากโดยเฉพาะชนิดของยาที่ใช้ และตำแหน่งที่จะใช้ยาทา หากใช้ไม่ถูกต้องอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาได้ ซึ่งบางครั้งรุนแรง จึงไม่ควรซื้อยาทาในกลุ่มนี้ใช้เอง โดยทั่วไปแพทย์ผิวหนังจะใช้ยากลุ่มนี้อย่างระวัง เพื่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุดโดยยังคงประสิทธิภาพมากที่สุด
- ยาทาที่เป็นครีมกลุ่มใหม่ๆ ซึ่งใช้เพื่อควบคุมการกำเริบของผื่น เป็นยาซึ่งใช้เพื่อลดผลข้างเคียงของยากลุ่มเสตียรอยด์ ยากลุ่มนี้มีความปลอดภัยพอสมควร แต่มีราคาซึ่งแพงมาก แต่ข้อดีก็คือทำให้ลดการใช้ยาทาสเตียรอยด์ลง และเพิ่มระยะเวลาที่โรคสงบ ยาบางชนิดเวลาทาอาจจะรู้สึกร้อน หรือ ยิบๆ บริเวณที่ทายาได้
- ในบางครั้งจะเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังตามมาได้ เช่นมีหนอง มีคราบน้ำเหลือง โดยเฉพาะเกิดตามหลังการเกาอย่างมาก แพทย์อาจจะใช้การดูแลแผลโดยใช้การประคบเปียก โดยใช้ผ้าก๊อส ชุบน้ำยาชะแผลปลอดเชื้อ, น้ำเกลือสำหรับล้างแผล ซับหมาดๆ ประคบบนผื่น เป็นเวลา 10 – 15 นาที วันละ สมถึงสี่ครั้ง อาจจะใช้ยาทา หรือ ยากินปฏิชีวนะร่วมด้วย
- สุขอนามัยส่วนตัว ควรตัดเล็บให้สั้น อย่าให้มีเล็บแหลมคม เพราะอาจจะเกาจนเกิดแผล หรือ แผลติดเชื้อร่วมด้วยได้
อ้างอิงจาก http://goodlifeupdate.com