ผ่าตัดเสริมคาง (Chin augmentation)
เป็นการผ่าตัดเสริมคาง โดยการใช้ซิลิโคน เพื่อปรับเปลี่ยนรูปหน้า ทำให้ใบหน้าดูเรียวเล็กลง
ปัญหาใบหน้ากลม คางสั้น เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อความมั่นใจ บุคลิกภาพของหลาย ๆ ท่าน ปัจจุบันการเสริมคางที่ได้รับความนิยมมีทั้งการผ่าตัดเสริมคางโดยใช้ซิลิโคนและการฉีดสารเติมเต็ม (Filler) แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของการฉีดสารเติมเต็ม (Filler) นั้นมักจะสลายไม่หมด ติดเป็นพังผืดที่เนื้อเยื่อของร่างกาย ในบางรายทำให้คางบุ๋ม การผ่าตัดเสริมคางโดยใช้ซิลิโคนนั้นไม่ได้อันตรายและเจ็บอย่างที่หลาย ๆ ท่านรู้สึก ด้วยเทคนิคการผ่าตัดที่ทันสมัยทำให้การผ่าตัดเสริมคางในปัจจุบันนั้นแผลเล็ก หายเร็ว ไม่ได้อักเสบหรือช้ำอย่างที่หลาย ๆ ท่านกังวล
เสริมคางช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง ?
- ช่วยทำให้หน้าเรียว
- ช่วยทำให้รูปหน้ามีมิติมากขึ้น
- แก้ไขปัญหาคางสั้น
- แก้ไขปัญหาคางบุ๋ม
ข้อดีของการผ่าตัดเสริมคางโดยการใช้ซิลิโคน
- ผลลัพท์ถาวร
- เป็นการผ่าตัดในช่องปาก
- ไม่มีแผลเป็นภายนอก
- หายเร็ว
แผลในกับแผลนอก อะไรดีกว่ากัน ?
เสริมคางแผลใน
- ข้อดี : ไม่มีแผลเป็นภายนอก
- ข้อเสีย : มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแผลภายนอก แต่ถ้าดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากได้ดีก็ไม่มีปัญหาในจุดนี้
เสริมคางแผลนอก
- ข้อดี โอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลในปาก
- ข้อเสีย มีแผลเป็นภายนอกยาวประมาณ 3 ซม.
- หากคนไข้มีปัญหาแผลเป็นนูน(keloid) ก็มีโอกาสเกิดหลังจากผ่าตัด ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนผ่าตัด
ทำอย่างไรให้ซิลิโคนไม่เบี้ยว ???
ปัญหาที่อาจพบได้จากการเสริมคางด้วยซิลิโคน คือ ซิลิโคนเคลื่อนผิดตำแหน่ง ทำให้คางเบี้ยว ซึ่งปัญหานี้จะเกิดน้อยเมื่อผ่าตัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ โดยปกติแล้วเทคนิคการ FIX ซิลิโคนให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมมีดังนี้
- วางซิลิโคนเอาไว้เฉย ๆ รอให้มีพังผืดมารัดซิลิโคน ซึ่งเทคนิคนี้มีโอกาสทำให้ซิลิโคนผิดตำแหน่งมากที่สุด
- เย็บซิลิโคนให้ติดกับเนื้อเยื่อข้างเคียง วิธีนี้ทำให้ซิลิโคนอยู่กับที่แต่ก็ยังมีโอกาสที่ทำให้ซิลิโคนเคลื่อนผิดตำแหน่งอยู่
- ใช้สกรูยึดซิลิโคนกับกระดูก วิธีนี้ป้องกันปัญหาซิลิโคนเคลื่อนผิดตำแหน่งได้ดีที่สุดเกือบ 100%
ขั้นตอนการผ่าตัด
- บ้วนน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนรับการผ่าตัด
- นอนพักในห้องผ่าตัด เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจรก่อนรับการผ่าตัด
- ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
- ผ่าตัดเสริมคางโดยใช้ซิลิโคน และเย็บแผลด้วยไหมละลาย (ไม่ต้องตัดไหม) ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 40 นาที
- นอนพักที่ห้องพักฟื้นและประคบน้ำแข็งบริเวณที่ทำการผ่าตัด และนอนสังเกตอาการประมาณ 30 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ หลังการผ่าตัด
ข้อห้ามสำหรับการผ่าตัดเสริมคาง
- โรคลมชัก
- โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเลือด
- สตรีมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
ความเสี่ยงของการผ่าตัดเสริมคาง
- ความเสี่ยงในการเลือดออก บวม ช้ำ หลังการผ่าตัด
- ความเสี่ยงของการติดเชื้อที่แผลหลังการผ่าตัด
ความเสี่ยงนี้จะลดลงเหลือน้อยมาก หากรับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และดูแลตนเองทั้งก่อนและหลังรับการผ่าตัดเป็นอย่างดี
เตรียมตัวก่อนเสริมคาง ทำอย่างไร ?
การดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดเสริมคาง
- สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้น อาหารเผ็ด อาหารร้อน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
- บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากหรือน้ำสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันเศษอาหารติดที่ไหมเย็บแผล
- ประคบเย็นบริเวณที่ทำการผ่าตัด ในช่วง 2 วันแรกหลังการผ่าตัด
- เริ่มประคบอุ่นบริเวณที่ทำการผ่าตัด ในวันที่ 3 หลังการผ่าตัด
- รับประทานยาที่ได้รับให้ครบตามที่แพทย์สั่ง